คุณประโยชน์และคุณค่าต่อร่างกายของ “น้ำกุหลาบ”

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561  14,701 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 220 เดือนพฤศจิกายน 2561

ในยุคสมัยแห่งการนำสารพฤกษเคมีจากธรรมชาติมาบริโภคให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ เหล่านักวิจัยได้ค้นคว้าหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนเรื่องคุณประโยชน์และคุณค่าต่อร่างกายมนุษย์ โดยมีการศึกษาเรื่องสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการป้องกันและบำบัดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์เรื่องการป้องกันความชราภาพ หรือ Anti-Aging และการบำรุงผิวพรรณในเรื่องของความสวยความงาม หนึ่งในพรรณพืชที่ได้รับความสนใจอย่างมากนี้ ได้แก่ “น้ำกุหลาบ” ดอกกุหลาบที่มีสี กลิ่นหอมหวาน และคงไม่มีใครไม่รู้จัก

น้ำกุหลาบ

หากพูดถึงน้ำกุหลาบที่นำมาดื่มเพื่อสุขภาพ หลายคนอาจมีคำถามว่าดื่มได้จริงหรือ แล้วจะดื่มได้อย่างไร มีสารพิษของยาฆ่าแมลงที่เป็นโทษต่อร่างกายหรือไม่ ซึ่งตั้งแต่อดีตในยุคก่อนหลายร้อยปีมาแล้วมีการนำน้ำกุหลาบมาใช้ในเรื่องของผิวพรรณ และคนที่ใช้น้ำกุหลาบผิวพรรณจะชุ่มชื้น ลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย นอกจากนี้ยังนำมาใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนังและรักษารอยแผลจากการถูกแดดเป็นเวลานานด้วย ส่วนน้ำกุหลาบที่นำมาดื่มก็ดื่มกันมาตั้งแต่ยุคเก่าแก่ โดยนำกุหลาบที่ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลงมาดื่มทั้งชนิดสดและนำดอกกุหลาบแห้งมาทำเป็นชา

สารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือจะใช้คำว่ามีคุณสมบัติเป็นโภชนเภสัช (Nutraceutical) ในน้ำกุหลาบ เช่น เทอร์พีน (Terpene) ไกลโคไซด์ (Glycosides) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และวิตามินบี ซึ่งสารพฤกษเคมีเหล่านี้ต่างได้รับรองเรื่องผลประโยชน์ต่อสุขภาพ การป้องกันความเสื่อมของเซลล์ ป้องกันการอักเสบ  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งจุลินทรีก่อโรค 

น้ำกุหลาบ

ปัจจุบันนอกจากน้ำกุหลาบแล้วยังนำน้ำมันดอกกุหลาบหรือน้ำกุหลาบมาใส่ในกลุ่มของอาหาร เครื่องดื่ม ขนมหวาน ซึ่งกลิ่นและคุณประโยชน์ของดอกกุหลาบเป็นตัวเด่นที่ทำให้ผู้คนนิยมและหลงใหลเป็นอย่างมาก บางคนนำน้ำดอกกุหลาบแช่เย็นแล้วฉีดบนใบหน้าและลำตัวเพื่อเพิ่มความสดชื่นและเพิ่มน้ำให้กับผิวได้ด้วย

แต่สำหรับผู้ที่แพ้เกสรกุหลาบควรระวัง เพราะการดื่มน้ำหรืออาหารที่มาจากกุหลาบก็สามารถส่งผลให้เกิดการแพ้ได้
 

แหล่งข้อมูล

  • Bojd MSA, et al. (2014). The evaluation of antimicrobial effects of five different brands of rose water, water extract of Rosa damascene in comparison with rose oil.
  • Boskabady MH, et al. (2011). Pharmacological effects of Rosa damascena.
  • Abdul L, et al. (2010). Anti-inflammatory and antihistaminic study of a Unani eye drop formulation.


Tag: , Food for life, ดอกกุหลาบ, น้ำกุหลาบ,

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed