ทุกคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าการปรุงอาหารให้สุก โดยเฉพาะ ‘ผัก’ อาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงหันมากินผักดิบกันมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าผักบางชนิดไม่ปลอดภัยพอที่จะรับประทานดิบได้ แต่ที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าคือผักบางชนิดจะให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์มากกว่าเมื่อนำไปผ่านกระบวนการปรุงสุกก่อน
1.ถั่วงอก มีสารโซเดียมซัลไฟต์หรือสารฟอกขาว ทำให้คลื่นไส้ หายใจติดขัด
เป็นผักที่นิยมกินดิบ แต่เสี่ยงต่อการเกิดอาการคลื่นไส้ หายใจติดขัด และปวดท้องร่วมด้วย เพราะในถั่วงอกเป็นแหล่งรวมเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น ซัลโมเนลลา อีโคไล และลิสทีเรีย อีกทั้งยังมีสารโซเดียมซัลไฟต์ หรือสารฟอกขาว อาจส่งผลให้ผู้ที่แพ้สารชนิดนี้เกิดอาหารแพ้ขั้นรุนแรง
2.กะหล่ำปลี เสี่ยงต่อการเกิดโรค นิ่วในไต คอหอยพอก ท้องอืด และแน่นท้อง
มีผลต่อระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร หากกินในปริมาณมากอาจทำให้ท้องอืดและแน่นท้อง การนำกะหล่ำปลีไปผ่านความร้อน นอกจากจะให้รสชาติและรสสัมผัสที่ดีเยี่ยม ยังพาประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพตีคู่กันมาโดยไม่รบกวนระบบทางเดินอาหารด้วย
3.บรอกโคลี มีฮอร์โมนบางชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคไทรอยด์
ผักชนิดนี้มีน้ำตาลที่ไปเพิ่มภาระให้ร่างกายย่อยยากมากขึ้น การปรุงสุกจะช่วยให้น้ำตาลที่มีอยู่ในผักสลายไปและย่อยได้ง่ายมากขึ้น หากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์แนะนำให้หลีกเลี่ยง เพราะการกินบรอกโคลีดิบจะส่งผลทำให้ภาวะต่อมไทรอยด์แย่ลง
4.ผักโขม กรดในผักโขมจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม และธาตุเหล็ก
ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะขาดแคมเซียมหรือธาตุเหล็ก เพราะผักโขมมีกรดออกซาลิกสูง ซึ่งเป็นสารที่จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็กของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้ แต่ผักโขมที่สุกจะช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้แก่ร่างกาย
5.ถั่วฝักยาว มีกรดอะมิโนที่เป็นอันตราย อาจส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร
ในถั่วฝักยาวดิบมี Glycoprotein, Lectin และสารพิษสะสมอยู่ในปริมาณสูง หากร่างกายได้รับมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และอาเจียน นอกจากนี้ยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างสูง อาจทำให้ท้องอืด หรือท้องเสียได้
6.หน่อไม้ สารไซยาไนด์ในหน่อไม้จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนหมดสติ และเสียชีวิต
ทางกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าในหน่อไม้สดมี Cyanogenic glycoside สารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ได้ ซึ่งสารชนิดนี้จะไปจับกับฮีโมโกลบิน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจนจนหมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จะปลอดภัยกว่าหากนำหน่อไม้ไปผ่านความร้อนสัก 10 นาที
7.มันฝรั่ง มีสารโซลานีน ที่ก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว
มันฝรั่งดิบไม่เพียงแต่มีรสชาติไม่ดีเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่ปัญหาทางเดินอาหารด้วย เพราะแป้งในมันฝรั่งดิบอาจทำให้ท้องอืดและมีแก๊สมาก นอกจากนี้ยังมีโซลานีนในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารพิษที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ หัวใจเต้นผิดจังหวะไปจนถึงหัวใจล้มเหลว และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวแนะนำให้นำไปอบ ผัด หรือปรุงมันฝรั่งก่อนรับประทาน
8.เห็ดทุกชนิด มีสารพิษปนเปื้อนอยู่มาก ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด
แม้ว่าเห็ดบางชนิดจะสามารถรับประทานดิบๆ ได้ แต่อย่าคิดลองเลย เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แนะนำให้นำไปปรุงสุกก่อน เพื่อให้ได้รับสารอาหารและโพแทสเซียมเพิ่มมากขึ้น เช่น เห็ดย่าง ผัด หรือต้ม
9.แครอต ร่างกายจะดูดซึมสารเบต้าแคโรทีนได้น้อยลง ทำให้ฟันเสื่อมสภาพและฟันผุ
หากกินแครอตดิบในปริมาณมากจะขัดขวางการดูดซึมสารเบต้าแคโรทีนเข้าร่างกาย ควรนำไปปรุงสุกก่อนเพื่อให้ได้รับคุณค่าสารอาหารได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามหากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ผิวเหลือง ฟันเสื่อมสภาพ หรือฟันผุ
แหล่งข้อมูล
Tag:
การดูแลสุขภาพ, ผัก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น