บทสนทนาจาก 3 ผู้ก่อตั้ง The Food School ถึงเป้าหมายของการสร้างโรงเรียนสอนทำอาหารให้เป็น ‘มากกว่า’ โรงเรียน

วันที่ 12 ตุลาคม 2566  676 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 279 เดือนตุลาคม 2566

TH
EN
CN

Progressive (adj.) ก้าวหน้า อันที่จริงแล้ว นอกเหนือไปจากความหมายที่เรารับรู้กันโดยทั่วไป ศัพท์คำนี้ยังใช้นิยามถึงความ “หัวใหม่” ได้ด้วย อย่างที่ The Food School Bangkok นั้นเลือกหยิบความ “หัวใหม่” นี้มานิยามใจความสำคัญในการสอนทำอาหาร ที่นักเรียนจะได้รู้ “มากกว่า” สูตรอาหาร และได้ลงมือทำ “มากกว่า” ยืนอยู่หน้าเตา

บทสนทนาจาก 3 ผู้ก่อตั้ง The Food School ถึงเป้าหมายของการสร้างโรงเรียนสอนทำอาหารให้เป็น ‘มากกว่า’ โรงเรียน

ศิรเดช โทณวณิก
ทายาทอาณาจักร “ดุสิตธานี” กับการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างไม่หยุดยั้ง
“การรวมตัวกันของ 3 โรงเรียนพาร์ตเนอร์ที่ดีที่สุด ทำให้คอมมูนิตีของเราแข็งแกร่งและมีความน่าสนใจ ชั้นเรียนของเราสอนทักษะโดยครูที่รู้ลึก รู้จริง”

บทสนทนาจาก 3 ผู้ก่อตั้ง The Food School ถึงเป้าหมายของการสร้างโรงเรียนสอนทำอาหารให้เป็น ‘มากกว่า’ โรงเรียน

  1. เมืองไทยมีของดีอยู่เยอะมากและอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่เรายังขาดคนทำอาหารที่เข้าใจ ผลักดัน และส่งเสริมการใช้วัตถุดิบใกล้ตัว เราจึงสร้างแพลตฟอร์ม The Food School Bangkok” ขึ้นมาเพื่อสอนให้คนทำอาหารรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของวัตถุดิบท้องถิ่น ส่งเสริมความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอาหารของเมืองไทย
  2. เรามองหาพาร์ตเนอร์ที่ทำ “ธุรกิจยั่งยืน” เช่นเดียวกับเรา จึงมาบรรจบกันที่วิทยาลัยดุสิตธานี กับหลักสูตรสอนอาหารไทยมานานกว่า 30 ปี ALMA (อัลมา) จากประเทศอิตาลี ซึ่งมีปรัชญาการสอนที่เน้นเรื่องของวัตถุดิบมากกว่าสูตรอาหาร และความสามารถของเชฟ เช่นเดียวกับ Tsuji (สึจิ) จากประเทศญี่ปุ่นที่เปิดสอนทำอาหารมานานกว่า 60 ปี เปิดกว้างให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย
  3. การรวมตัวกันของ 3 โรงเรียนพาร์ตเนอร์ที่ดีที่สุด ทำให้คอมมูนิตีของเราแข็งแกร่งและมีความน่าสนใจ ชั้นเรียนของเราสอนทักษะโดยครูที่รู้ลึก รู้จริง นักเรียนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรม ที่มาที่ไปของอาหารแต่ละจาน ให้นักเรียนได้สัมผัสกับห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหารจริงๆ
  4. เราคือ Professional School คือ หลักสูตรของเรานั้นผูกกับระบบการศึกษา นักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรเป็นเครื่องมือการันตีในการศึกษาต่อหรือทำงานต่อ สามารถสะสมเป็นเครดิตได้ รวมถึงยังได้รับการการันตีจากแต่ละโรงเรียนซึ่งล้วนเป็นที่ยอมรับทั้งในญี่ปุ่นและอิตาลีด้วย
  5. ภารกิจของเราคือการสร้างคอมมูนิตีของคนรักอาหาร และสร้างแบรนด์ของ The Food School ให้เป็นแบรนด์ของคนไทยที่ไปได้ไกลในระดับนานาชาติ ให้คนทั้งโลกได้เห็นว่าประเทศไทยมีโรงเรียนสอนทำอาหารที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับคนรุ่นใหม่ได้อย่างลึกซึ้งไปถึงแก่น     

ปริม จิตจรุงพร
แม่ทัพ YEC หอการค้าไทย และผู้นำด้านการผลิตเครื่องครัวอุตสาหกรรมในเมืองไทย
“เราไม่ได้สร้างโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน แต่เป็น Platform of Schools เปิดโอกาสให้คนไทยได้เรียนสิ่งที่ดีที่สุดจากครูผู้เป็นตัวจริงเสียงจริงในอาหารนั้นๆ”

บทสนทนาจาก 3 ผู้ก่อตั้ง The Food School ถึงเป้าหมายของการสร้างโรงเรียนสอนทำอาหารให้เป็น ‘มากกว่า’ โรงเรียน

  1. เราตั้งใจสร้างพื้นที่เป็น Startup Incubator แหล่งบ่มเพาะสตาร์ทอัปด้านอาหารของเมืองไทยโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะใช้พื้นที่ขายอาหารจริง เช่าเพื่อทดลองสูตร หรือจะเปิดคลาวด์คิทเช่น (Cloud Kitchen) เราก็มีครัวหลากหลายสไตล์ให้เช่า
  2. มุมหนึ่งนั้นสร้างเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดกว้างให้อาร์ติซานในเมืองไทยได้นำเสนอของดีของพวกเขาอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักเรียนซึบซับกับการใช้ของไทยให้มากที่สุด และเป็นอีกหนึ่งแรงส่งเสริมความยั่งยืนให้ผู้ผลิตวัตถุดิบในเมืองไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพวกเขาไปเรื่อยๆ
  3. เมื่อเราเริ่มต้นสร้างโรงเรียนสอนทำอาหารจากความยั่งยืน แน่นอนว่าอุปกรณ์ที่เราใช้ก็ต้องมีความยั่งยืนและตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ เครื่องครัวของเราจึงเป็นของดีที่ไม่เสียบ่อยและไม่ต้องซ่อมบ่อย ให้ผู้เรียนได้เห็นจริงถึงการลงทุนที่เหมาะสม
  4. เราไม่ได้สร้างโรงเรียนให้เป็นโรงเรียน แต่เป็น Platform of Schools เปิดโอกาสให้คนไทยได้เรียนสิ่งที่ดีที่สุดจากครูผู้เป็นตัวจริงเสียงจริงในอาหารนั้นๆ ห้องเรียนของเราเริ่มต้นจากคำว่า Collaborative ให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม และมีครัวที่หลากหลายตามหลักสูตรที่เปิดสอน
  5. The Food School Bangkok เหมาะสำหรับคนที่อยากทำอาหารอย่างจริงจัง เพราะเราสอนจริงจังด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-based Curriculum) ทำให้นักเรียนรักในสิ่งที่ทำและพร้อมที่จะสร้างสรรค์และต่อยอด เรียนสูตรอาหาร แล้วจบด้วยการเรียนทักษะด้านธุรกิจ

กวิน ว่องกุศลกิจ
ผู้นำธุรกิจจากเครือมิตรผล กับฝันที่จะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทยสู่สายตาชาวโลก
“ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำหลักสูตรอาหารอิตาเลียนและอาหารญี่ปุ่นมาไว้ในที่เดียว แต่พวกเขาตัดสินใจเข้ามาร่วมทางกับเรา นั่นเป็นเพราะเขาเชื่อในสิ่งที่เราทำ”

บทสนทนาจาก 3 ผู้ก่อตั้ง The Food School ถึงเป้าหมายของการสร้างโรงเรียนสอนทำอาหารให้เป็น ‘มากกว่า’ โรงเรียน

  1. ศักยภาพด้านอาหารของเมืองไทยสามารถสู้กับทุกๆ ชาติบนโลกใบนี้ได้ เมื่อได้ยินถึงการสร้าง The Food School Bangkok ด้วยแนวคิดของการสร้างเชฟที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ ผมเลยสนใจทันที
  2. The Food School Bangkok เปิดกว้างในการนำอาหารชาติต่างๆ มาผสมผสาน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะนำหลักสูตรอาหารอิตาเลียนและอาหารญี่ปุ่นมาไว้ในที่เดียว แต่พวกเขาตัดสินใจเข้ามาร่วมทางกับเรา นั่นเป็นเพราะเขาเชื่อในสิ่งที่เราทำ นั่นคือการเปลี่ยนแปลงวงการอาหารในเมืองไทย และสร้างเชฟที่เชี่ยวชาญในอีกระดับ
  3. มีคำพูดหนึ่งของคุณดาลัด กำภู ณ อยุธยา เจ้าของร้านอาหารไทยมิชลินสตาร์ในเบอร์ลิน ที่ว่า “เรากินมากกว่าที่เราต้องการ และเรากำลังทำลายทรัพยากรและโลกของเรา สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ การกินอย่างยั่งยืน ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย กินอาหารท้องถิ่น” ซึ่งตรงกับเป้าหมายความยั่งยืนของ The Food School Bangkok การเรียนการสอนของเราจึงให้ความสำคัญกับการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในเมืองไทยอย่างมาก
  4. ด้วยเป้าหมายที่จะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารของเมืองไทย เราต้องสร้างเชฟผู้มองเห็นความสำคัญของต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม เนื้อสัตว์ หรือประมง ซึ่งล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่มากในเมืองไทย เราสอนรากฐานสำคัญแก่พวกเขา เจาะลึกไปถึงรายละเอียดที่ลึกที่สุด และดึงความสนใจของโลกมาสู่วัตถุดิบของเมืองไทยให้ได้
  5. การเรียนเป็นเชฟในทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่เรียนจำสูตร แต่ต้องแข่งขันในตลาดและต่อยอดได้ในตลาด เชฟที่เมืองไทยต้องการจึงต้องเป็นมืออาชีพ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นลีดเดอร์ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร

Tag: The Food School Bangkok, โรงเรียนสอนทำอาหาร

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed