โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

วันที่ 30 มิถุนายน 2566  38,530 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 274 เดือนพฤษภาคม 2566

ดร.ธนพัฒน์กล่าวถึงจุดเด่นที่เป็นหัวใจของการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือเน้นฝึกทักษะปฏิบัติจากการลงมือทำบนพื้นฐานทฤษฎีที่ถูกต้องทั้งภายในสถาบันและสถานประกอบการจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน เรียนรู้ และแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ พัฒนาจนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญพร้อมที่จะออกไปปฏิบัติงานจริงเมื่อจบการศึกษา ที่ผ่านมาโรงเรียนการเรือนได้ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรแบบยืดหยุ่นเพื่อให้เข้ากับเทรนด์อาหารและความต้องการของตลาด โดยมีฐานมาจากอัตลักษณ์ทางด้านอาหารของมหาวิทยาลัย ทั้งในเชิงโภชนาการสุขภาพรวมถึงนวัตกรรมการผลิตอาหาร

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวิกฤติโควิด-19 เมื่อ 2-3 ปีก่อน ได้ส่งผลถึงไลฟ์สไตล์ของผู้คนและทำให้เทรนด์อาหารเปลี่ยนแปลงไป เราก็ได้ปรับตัวตามโดยเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับช่วงวัย อาหารสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค อาหารทางเลือก นวัตกรรมการผลิตอาหาร อาหารเพื่อความยั่งยืนซึ่งจะเริ่มตั้งแต่แหล่งผลิต กระบวนการผลิต ไปจนถึงการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการลดคาร์บอนและลดขยะที่เกิดจากการปรุงอาหาร เราให้ความสำคัญกับการใช้วัตถุดิบทุกส่วนเพื่อให้เกิดของเหลือในครัวน้อยที่สุด

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

“วันนี้ ‘เชฟ’ ได้กลายเป็นหนึ่งในอาชีพในฝันของเด็กไทย โรงเรียนการเรือนจึงมุ่งมั่นที่จะผลักดันเพื่อสานฝันนั้นให้เป็นจริง โดยเปิดรายวิชาปฏิบัติการอาหารต่างๆ เช่น อาหารไทย อาหารยุโรป ขนมไทย เรียนรู้ตั้งแต่การรู้จักและคัดเลือกวัตถุดิบ รู้จักความเป็นมาของอาหาร การปรุงประกอบอาหาร การรับประทานอาหาร การสุขาภิบาลอาหาร และการนำเสนออาหาร”

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

นอกจากความรอบรู้ด้านอาหาร โรงเรียนการเรือนยังให้ความสำคัญกับการปรับบุคลิกภาพ มารยาทและการเข้าสังคม รวมถึงมุมมองด้านธุรกิจเพื่อนำไปต่อยอดในอาชีพได้ โดยมีการจัดอบรมหลักสูตรพิเศษ Re-Skills, Up-Skills และ New-Skills แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นประจำทุกเดือน และยังเป็นตลาดแรงงานเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของกิจการที่กำลังมองหาเชฟฝีมือดี หรือสร้างโอกาสให้ไปต่อยอดในต่างประเทศได้ เป็นต้น

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

ไม่เพียงเท่านั้นความป๊อปปูลาร์ของอาหารไทยยังส่งผลให้มีชาวต่างชาติสนใจเข้ามาเรียนหลักสูตรอาหารไทยมากขึ้น โรงเรียนการเรือนจึงปรับหลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการของตลาด “เราได้มอบหมายให้ศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารนานาชาติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สามารถดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน การอบรมด้านอาหาร การแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านอาหารที่เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ เพื่อผลักดันให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลก ตลอดจนชาวต่างชาติสามารถเข้าถึงและสนุกกับการเรียนรู้วัฒนธรรมอาหารไทยที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น”

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

สุดท้ายคือแผนงานหรือเป้าหมายสำคัญในปี พ.ศ. 2566 ที่ ดร.ธนพัฒน์ได้กล่าวสรุปคือ การดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามเกณฑ์ของ The Impact Rankings Methodology 2024 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การบริการด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาวะที่ดีให้แก่นักศึกษา รวมถึงชุมชนท้องถิ่น 2. การสนับสนุนดูแลนักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ 3. การสรรหาแหล่งอาหารและสิ่งอุปโภคบริโภค และการจัดการขยะและการลดการใช้ทรัพยากร 4. การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนงาน SDGs ระดับชาติและระดับนานาชาติ

โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เน้นอัตลักษณ์ - ปรับตามเทรนด์ เพื่อเป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหาร (Part 2)

ทั้งหมดนี้คือการสืบสานและพัฒนาศาสตร์ด้านอาหารซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของโรงเรียนการเรือนมาโดยตลอด “เราเน้นรักษาอัตลักษณ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นตามเทรนด์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางศาสตร์ด้านอาหารครบวงจรที่ครอบคลุมทุกความต้องการ” ดร.ธนพัฒน์กล่าวทิ้งท้าย


Tag: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, อุตสาหกรรมอาหาร, โรงเรียนสอนทำอาหาร

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed