“ภาวะโลกร้อน” อีกหนึ่งปัญหาระดับชาติที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลาสติกที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนาน อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างการย่อยสลายนี้ พลาสติกยังได้ทิ้งสิ่งที่เรียกว่า “ไมโครพลาสติก” เอาไว้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งสารพิษที่สะสมในร่างกายของมนุษย์ และก่อให้เกิดโรคร้ายขึ้นมากมาย
ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงเลือกใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยลดโอกาสการสะสมของสารพิษร้ายในร่างกาย แล้วพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพคืออะไร จะดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงไหม ส่งผลกระทบอย่างไรกับชีวิตรอบด้านบ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย!
รู้จัก “พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ”
พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คือ พลาสติกประเภทหนึ่งที่แบคทีเรียธรรมชาติสามารถย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์ โดยการผลิตพลาสติกประเภทนี้สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งอาจเลือกใช้ปิโตรเลียม หรือ วัสดุทดแทนอื่นจากธรรมชาติอย่างข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือพืชอื่น ๆ ได้
เมื่อจบกระบวนการย่อยสลายพลาสติกประเภทนี้จะเหลือน้ำ มีเทน มวลชีวภาพ และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารจำเป็นต่อการเติบโตของสิ่งมีชีวิตเอาไว้ ทำให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในหลากหลายแง่มุม
เลือกใช้พลาสติกย่อยสลายได้อย่างไรให้ตอบโจทย์
อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเหมือนกัน แต่พลาสติกแต่ละประเภทจะมีอายุการย่อยสลายที่แตกต่างกัน โดยทุกคนสามารถสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์อย่าง EDP หรือ การวัดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการย่อยสลาย โดยตามกฎหมายแล้ว ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้ต้องไม่น้อยกว่า 90%
นอกจากนี้ การเลือกพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพยังสามารถดูได้จากการรับรองมาตรฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ASTM D6400 และ IS0 17088 หรือ EN 1343 ได้เช่นกัน
พลาสติกย่อยสลายได้ดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงไหม?
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดมายืนยันว่า พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ในแง่มุมไหนบ้าง เช่น พลาสติกย่อยสลายได้บางประเภทอาจมีการแตกตัวเป็นไมโครพลาสติกที่สามารถดูดซึมโลหะหนักในดินและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในสิ่งมีชีวิต
นอกจากนี้ พลาสติกย่อยสลายได้ยังมีขั้นตอนการย่อยสลายที่หลากหลาย เช่น แสงแดด การออกซิเดชัน และความชื้น ดังนั้น ทุกคนยังต้องศึกษาถึงผลกระทบที่ตามมา นวัตกรรมการย่อยสลายพลาสติกที่มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการเลือกวิธีพลาสติกที่ย่อยสลายได้ต่อไป
เพียงเท่านี้ทุกคนก็รู้จักพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมากขึ้นแล้ว หวังว่าข้อมูลที่นำมาฝากนี้จะช่วยให้หลายคนเข้าใจการเลือกและใช้พลาสติกย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
Tag:
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, พลาสติก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น