แต่งงานกันมาตั้งหลายปี แต่ยังไม่มีลูกสักที ทั้ง ๆ ที่ก็หมั่นทำการบ้านอย่างสม่ำเสมอ เลยอยากที่จะไปตรวจมีบุตรยาก แต่ยังไม่รู้ว่าตรวจอะไรบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร วันนี้เราจะบอกเล่าให้ฟังอย่างหมดเปลือกว่าเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลย
ภาวะการมีบุตรยากคืออะไร
ก่อนที่เราจะพาไปดูว่าการตรวจมีบุตรยากตรวจอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาไปดูก่อนว่า แบบไหนถึงเรียกว่ามีบุตรยาก
ภาวะการมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้คุมกำเนิด แต่ไม่มีบุตรเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งอาจจะเป็นได้ว่า ไม่ฝ่ายหญิงก็ฝ่ายชาย หรือทั้งคู่มีความผิดปกติที่ส่งผลต่อการมีบุตร อาจจะต้องมีการบำรุง หรือใช้ตัวช่วยอื่น ๆ เพิ่มเติม ซึ่งแนะนำให้ไปตรวจมีบุตรยากก่อน ซึ่งจะตรวจอะไรบ้าง ไปดูกันเอง
ตรวจมีบุตรยากตรวจอะไรบ้าง
สำหรับการตรวจมีบุตรยากจะทำการตรวจทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้ชายจะทำการตรวจน้ำเชื้อ หรือเชื้ออสุจิว่าแข็งแรงหรือไม่ หรือมีความสมบูรณ์แค่ไหน ทั้งในแง่ของปริมาณ ความเร็วในการเคลื่อนที่ และความแข็งแรง
ส่วนฝ่ายหญิงจะเป็นการตรวจภายใน โดยจะใช้กล้องขนาดเล็กทำการตรวจ รวมถึงการอัลตราซาวด์เพื่อหาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นที่รังไข่ หรือบริเวณมดลูก รวมถึงการตรวจเนื้องอกหรือมะเร็งอีกด้วย
การเตรียมตัว
เมื่อรู้แล้วว่าการตรวจมีบุตรยากตรวจอะไรบ้าง คราวนี้เรามาดูกันว่าจะมีการเตรียมตัวอย่างไรก่อนที่จะเข้ารับการตรวจ
สำหรับผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจภาวะมีบุตรยากควรจะมาตรวจช่วงวันที่ 2-3 ของช่วงที่มีรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเหมาะสมกับการตรวจ ส่วนการตรวจภายในควรตรวจตอนที่ไม่มีประจำเดือน
ส่วนผู้ชายสามารถมาตรวจได้ทุกช่วงเวลา แต่งดการหลั่งในช่วง 2-5 วัน เพื่อความแม่นยำในการตรวจ
ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะมีบุตรยาก
สาเหตุของการมีบุตรยากนั้น สาเหตุหลัก ๆ ก็คือ อายุ หากว่าฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี โอกาสการมีบุตรก็เริ่มยากขึ้น ควรจะปรึกษาแพทย์และตรวจสุขภาพอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้ลูกมีภาวะผิดปกติ
นอกจากเรื่องอายุแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคู่สามีภรรยาก็มีผลต่อการตั้งครรภ์ด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ รวมถึงผู้ที่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
ไม่เพียงเท่านี้ ปัญหาเรื่องสุขภาพส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการมีบุตรยากเช่นเดียวกัน
ใครที่อยากมีลูก แต่ผ่านไปเป็นปีแล้วยังไม่มีสักที ลองไปตรวจมีบุตรยาก แต่ละที่ตรวจอะไรบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ แต่ก็จะไม่แตกต่างจากที่กล่าวมาสักเท่าไร
Tag:
การดูแลสุขภาพ, ตรวจสุขภาพ, ภาวะการมีบุตรยาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น