รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่ USFDA

วันที่ 22 มกราคม 2561  19,368 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 210 เดือนมกราคม 2561

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (2016) U.S. Food and Drug Administration (USFDA) หรือองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ในความดูแลของ Food Safety and Inspection Service (FSIS) ภายใต้กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการบังคับใช้ฉลากแสดงข้อมูลโภชนาการแบบใหม่ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559  และมีระยะเวลาปรับใช้จนถึง 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561  

★ เหตุผลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฉลากโภชนาการในรูปแบบใหม่ 

  • ฉลากแบบเดิมมีการใช้มากว่า 25 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990
  • ปัญหาทางด้านโภชนาการและสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
  • การศึกษาทางด้านอาหารและโภชนาการมีองค์ความรู้ใหม่เพิ่มเติมงานวิจัยทางด้านอาหารและโภชนาการใหม่ๆ (ทั้งทางด้าน Community, Experimental and Clinical Nutrition)
  • งานวิจัยทางด้านอาหารและโภชนาการใหม่ๆ (ทั้งทางด้าน Community, Experimental and Clinical Nutrition)
  • รูปแบบฉลากโภชนาการแบบเดิมเข้าใจยาก (ต้องการรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้น)
  • ขนาดตัวอักษรเล็กมองได้ไม่ชัดเจนในบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก
  • สัดส่วนของหน่วยบริโภค (Serving Size) ที่ไม่ตรงกันกับการบริโภคจริงของผู้บริโภค
  • อาหารบางกลุ่มมีขนาดแตกต่างกัน จึงควรมีฉลากโภชนาการแตกต่างกันตามหน่วยบริโภคจริง

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA


★ ส่วนที่ 1 คือเปลี่ยนแปลงหน่วยบริโภค (Serving Size) 

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

ให้มีตัวอักษรทึบชัดเจน บอกปริมาณกี่หน่วยต่อบรรจุภัณฑ์
 

★ ส่วนที่ 2 คือพลังงาน

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

ให้ใช้ตัวอักษรทึบและมีขนาดใหญ่ เพื่อให้เห็นพลังงานต่อหน่วยชัดเจนและอ่านได้ง่าย
 

★ ส่วนที่ 3 คือไขมัน

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

เนื่องจากการศึกษาพบว่าพลังงานจากไขมันไม่สำคัญเท่ากับชนิดของไขมัน และจากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine : IOM) พบว่าไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงปรับเปลี่ยนให้ได้พลังงานจากไขมันเพิ่มเติมจากเดิมคือ 65 กรัมต่อวันเป็น 78 กรัมต่อวันสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 แคลอรี ดังนั้นจึงตัดพลังงานจากไขมัน (Calories from Fat) ออก แต่ยังคงไว้ในปริมาณของ Total Fat, Saturated Fat และ Trans Fat
 

★ ส่วนที่ 4 คือปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไป (Added Sugar)

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

จากเดิมที่มีแต่ปริมาณน้ำตาลรวม ฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่จะเพิ่มส่วนของน้ำตาลที่เติมลงไปที่ไม่ใช่น้ำตาลที่มาจากอาหาร ดังนั้นการเติมสารให้ความหวานทุกชนิดที่เป็นน้ำตาลจะต้องระบุลงไป เช่น น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำตาลข้าวโพด น้ำตาลทรายแดง ยกเว้นน้ำตาลแอลกอฮอล์และสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน และมีการปรับลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตรวมจากเดิมที่ให้ 300 กรัมต่อวันมาเป็น 275 กรัมต่อวัน เนื่องจากอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตจะส่งผลต่อกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) นอกจากนี้ปริมาณของใยอาหารก็เพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 25 กรัมต่อวันเป็น 28 กรัมต่อวันเพื่อสุขภาพที่ดี
 

★ ส่วนที่ 5 คือสารอาหาร (Nutrients)

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

จากเดิมที่กำหนดไว้คือ 4 ชนิด คือ วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก แต่ได้เอาวิตามินเอและวิตามินซีออกเนื่องจากคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ค่อยขาดวิตามิน 2 ชนิดนี้ แล้วเพิ่มวิตามินดีและโพแทสเซียมเข้าไปแทน เนื่องจากวิตามินดีจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกระดูกและภาวะสุขภาพ ส่วนโพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตกับป้องกันความดันโลหิตสูง และต้องใส่ปริมาณจริงของวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ด้วย
 

★ ส่วนที่ 6 คือหมายเหตุ (Footnote)

รู้จักฉลากโภชนาการรูปแบบใหม่  USFDA

จากฉลากแบบเดิมที่กำหนดข้อมูลมากมาย ฉลากโภชนาการแบบใหม่จะทำให้เข้าใจง่าย ระบุปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน [% Daily Value (DV)] 
 

ข้อมูลอ้างอิง : www.fda.gov


Tag: , Food for life, ฉลากโภชนาการ, USFDA,

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed