เรื่องลับๆ ของความกรอบนานและความอร่อยของขนมไทย อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยสารพัดประโยชน์อีกมากมายที่ใช้ในการทำอาหารอีกด้วย
ภูมิปัญญาคนสมัยก่อน จะนำเปลือกหอยไปเผาด้วยความร้อนสูงจนสุก พักให้เย็นจนกลายเป็น “ปูนขาว” หลายคนคงเคยได้ยินจากสำนวนที่ว่า “กินปูนร้อนท้อง” เพื่อไม่ให้แสบท้องจึงผสมขมิ้นลงไปในปูนขาวที่เป็นด่างทำให้เกิดเป็นสีแดงส้ม หรือที่รู้จักกันว่า “ปูนแดง” แล้วนำมาผสมกับน้ำจึงกลายเป็น “น้ำปูนใส”นั้นเอง
ประโยชน์จากน้ำปูนใส
- ทำให้เนื้อขนมอยู่ตัวและช่วยพยุงตัวให้กับขนม เช่น ขนมเปียกปูน ลอดช่อง
- นำไปผสมกับแป้งของทอดกรอบเพื่อให้อาหารมีความกรอบนานมากยิ่งขึ้น เช่น กล้วยทอด ขนมดอกจอก
- ทำให้อาหารไม่เปื่อยเละ โดยเอาของที่จะเชื่อมไปแช่น้ำปูนใสก่อนที่จะเชื่อม หรือแช่อิ่ม
- นำไปล้างผักเพื่อช่วย กำจัดยาฆ่าแมลง และโลหะหนักที่หลงเหลืออยู่ได้
- ใช้ฉีดพรมเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บของผักและผลไม้ให้นานขึ้น และช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้
ขั้นตอนการทำ (How to)
1. เทน้ำ 1 ลิตรลงในอ่างผสม
2. ใส่ปูนแดง 1 ช้อนโต๊ะ ลงในอ่างผสม
3. คนปูนแดงให้ละลายใส่โหล แล้วปิดฝาทิ้งไว้จนตกตะกอน
4. ตัก ฝ้าที่ลอยอยู่บนน้ำทิ้งแล้วนำน้ำไปใช้ได้
Tips: สามารถเติมน้ำเพื่อใช้ต่อได้ จนกว่าฝ้าที่ลอยบนน้ำหมดให้เปลี่ยนปูนใหม่
เมนูที่นำน้ำปูนใสมาใช้
- หมูสามชั้นทอดกรอบ ใช้ผสมกับแป้งทอดกรอบเพื่อให้มีความกรอบนานมากยิ่งขึ้น
- ฟักทองเชื่อม ใช้แช่ฟักทองก่อนนำไปเชื่อมเพื่อให้ฟักทองสุกทั่วไม่เละ
- กล้วยไข่เชื่อม แช่เพื่อไม่ให้กล้วยเละเป็นทรงตรงสวยเวลาเชื่อมและกล้วยไม่ดำ
- ลอดช่องกะทิ เพื่อให้เวลาบีบเป็นตัวอยู่ทรงสวย
- ขนมเปียกปูนใบเตย ใช้ผสมกับแป้งเพื่อให้ขนม อยู่ทรงสวยงาม
Tag:
น้ำปูนใส, ปูน, เคล็ดลับก้นครัว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น