Bao for Chinese New Year

วันที่ 4 มกราคม 2559  3,221 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 198 เดือนมกราคม 2560

ตรุษจีนหมุนวนจนกลับมาครบรอบปีอีกครั้ง อาหารตรุษจีนก็เช่นกัน ไม่อยากจะคิดเลยว่าเราต้องกินอาหารไหว้ยาวไปอีกนานสักกี่วัน ถ้าจำเป็นต้องกินเราเองก็อยากกินอะไรที่แปลกใหม่มากกว่า ถ้าให้เลือกได้เราสนใจ “ซาลาเปา” ซึ่งเข้ากับตรุษจีนอย่างที่สุด สิ่งแรกที่นึกถึงตรุษจีนคงเป็น “อั่งเปา” และคำว่า “เปา” ก็มีความหมายว่าห่อเงินห่อทอง ไม่เฉพาะความหมายที่ดี แต่ช่วงหลังมานี้ซาลาเปาเองก็มีไอเดียใหม่ๆ ที่ต่างจากเดิม รูปร่างหน้าตาของซาลาเปาเริ่มเปลี่ยนไปจากที่เราเห็นตามร้านติ่มซำ

 “ซาลาเปา”

Bao for Chinese New Year

เชฟเดวิด ชาง เจ้าของหนังสือ Momofuku Cookbook เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่แปลงโฉมของซาลาเปาให้กลายเป็นพอร์กบัน แป้งซาลาเปาเนื้อนุ่มใส่หมูสามชั้นตุ๋น แตงกวาดอง ซอสฮอยซิน และซอสพริกศรีราชา จนทำให้คนนิวยอร์กยอมรับในอาหารจีนรูปแบบใหม่ เช่นเดียวกันกับบ้านเรา ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมารูปแบบของซาลาเปาเป็นมากกว่าแป้งและไส้ แต่มีองค์ประกอบความอร่อยอื่นถูกจับใส่เข้ามาเพิ่มความแปลกใหม่

ซาลาเปา

Bao for Chinese New Year

Gua Bao : From Taiwan to The World
กวาเปาเป็นอาหารจากไต้หวันที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนแผ่นดินใหญ่แถบฟูเจี้ยน ที่ดัดแปลงมาจากหมั่นโถว ซึ่งคนไต้หวันจินตนาการหน้าตาของกวาเปาว่าเหมือน “กระเป๋าสตางค์ที่เต็มไปด้วยเงิน” คนไต้หวันจึงกินกวาเปาเพื่อความโชคดีเรื่องเงิน น่าแปลกใจว่ากวาเปาในไต้หวันเป็นเพียงอาหารธรรมดาทั่วไป แต่กลับโด่งดังเพราะเชฟเดวิด ชาง ร้าน Momofuku Noodle Bar ในมหานครนิวยอร์ก

ส่วนในบ้านเราบอกได้ยากว่าใครเป็นผู้เริ่มปลุกกระแส เรายกให้ Bao & Buns  สุขุมวิท 31 (ปิดปรับปรุง) ละกันที่เริ่มต้นทำออกมาได้ดีทีเดียว จนต่อยอดกลายเป็นร้าน Xiao Chi เดอะคอมมอน ทองหล่อ น่าเสียดายที่อีกหนึ่งร้านอร่อยอย่าง Mario Chow Bao ต้องปิดตัว

The Courtyard (The House on Sathorn โรงแรม W Bangkok) ก็มองเห็นเทรนด์นี้เช่นกัน เชฟฟาติห์ ทูทัค ได้บรรจุลงในเมนูอาหารคอมฟอร์ตฟู้ดของเขาด้วย Fried Chicken Bao เปาไก่ทอดราดซอสโอโคโนมิยากิ ที่มีทั้งรสชาติแบบจีนผสมผสานกับญี่ปุ่น

 Fried Chicken Bao

Hotto Bun (สาขาท่ามหาราช) ก็เป็นอีกหนึ่งร้านที่น่าจับตามองกับสาขาที่เปิดมากมาย ไม่เฉพาะกรุงเทพฯ แต่ขยายไปถึงขอนแก่นและเชียงใหม่ ฮอตโตะบันเรียกตัวเองว่าเป็นบันสไตล์ญี่ปุ่น เราเลือก Braised Pork Bun แทบจะเหมือนกวาเปาแต่เพิ่มเติมด้วยซอสที่คล้ายสไปซี่มาโย ซอสฉ่ำไปหน่อยแต่อร่อยดี

Braised Pork Bun

Little Bao (72 Courtyard) ก็การันตีได้จากชื่อร้าน เราเลือก Sichuan Chicken Bao ดูน่าสนใจกว่า ตัวแป้งนุ่มอร่อยแต่ก็ไม่ได้ต่างจากร้านอื่น ที่ต่างคือซอสเชียงเคียงวินิการ์กับมาโยหม่าล่าที่ราดลงบนไก่ทอด รสชาติน่าสนใจมาก อยากให้ลอง

Sichuan Chicken Bao

Ippudo (สาขาป๊อปอัพ สยามพารากอน) หลักๆ มี The Bataniku Bun  หมูสามชั้นตุ๋นมาจนเปื่อยนุ่ม รสของมายองเนสที่ใส่มาด้วยไปกลบรสของซอสหมู แต่ก็ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่สำคัญคือเป็นเพียงเมนูรองในร้านราเมง

The Bataniku Bun

Crispy Bao
การเพิ่มเนื้อสัมผัสก็เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับแป้งนุ่มๆ ที่มาพร้อมกับความกรอบซึ่งมีหลายระดับตามแต่ว่าร้านไหนอยากจะให้กรอบแบบใด

Mono Mono (Zpell ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต) แบรนด์ไก่ทอดเกาหลีจากนิวยอร์ก ที่นำเอาบันมาทำเช่นกัน ตัวเด่นสุดที่ทางร้านคิดเป็น Soft Shell Crab Bun  ใช้แป้งขนมปังแทนแป้งหมั่นโถวอบให้กรอบด้านนอก นุ่มด้านใน ใส่ปูนิ่มทอดทั้งตัวปรุงรสค่อนข้างจัด แน่นอนว่า Pork Belly Bun  ก็ปรับใหม่เป็นแป้งขนมปังอบใส่หมูสามชั้นตุ๋นเนื้อนุ่ม

Soft Shell Crab Bun

Pork Belly Bun

Hong Bao (สาขา Central Embassy) เราแนะนำซาลาเปาหมูแดงทอด ) ดูเหมือนไม่แปลกแต่เราก็ไม่ค่อยเห็นใครทำออกมาแบบนี้ คล้ายกับซาลาเปานึ่งแต่ผ่านความร้อนในหม้อร้อน หน้าตาคล้ายขนมกุยช่าย ส่วนไส้ไม่ต่างจากซาลาเปาหมูแดง เราว่าความแปลกอยู่ที่แป้งซึ่งยังนุ่มแต่มีเนื้อสัมผัสกรอบหน่อยๆ

ซาลาเปาหมูแดงทอด

Tim Ho Wan (สาขาเทอร์มินอล 21) แนะนำซาลาเปาอบไส้หมูแดง 1 ใน 4 ของเมนูจตุรเทพติ่มซำของร้าน ความอร่อยอยู่ที่แป้งกรอบแต่ไม่อมน้ำมัน เพราะใช้การอบแทนทอด แป้งออกหวานหน่อยแต่เนื้อสัมผัสดี

ซาลาเปาอบไส้หมูแดง

Xiao Chi (The Commons) แบรนด์น้องของ Bao & Bun ที่มีตัวเด่นอย่าง Xi-an Pork Burger เบอร์เกอร์ที่ใช้แป้งเปาไปทอดบนกระทะ ทำให้แป้งมันไปหน่อย แต่นุ่มกรอบ ไส้หมูฝอยผัดกับผัก ต้องใส่ซอสพริกรสเผ็ดช่วยแก้เลี่ยน

Xi-an Pork Burger

Matcha Ten (ปากซอยสาทร 6) เราตั้งใจไปกินเปาทอดไส้หมูกิมจิ แต่ขายดีมาก ตัวเลือกต่อมาจึงเป็น Sho Bao Wagyu Beef แป้งเปาทอดจนกรอบสีเหลืองทองเนื้อในยังคงความนุ่ม กับเนื้อวากิวผัดหัวหอม ใส่ชีสและไข่ดาวนกกระทา คล้ายชีสเบอร์เกอร์แต่มีกลิ่นอายของญี่ปุ่น

Sho Bao Wagyu Beef

Exotic Bao
ซาลาปาไส้แปลกๆ หรือแป้งแปลกๆ ก็เริ่มมีให้เห็น อย่าง Mochiron (สยามสแควร์ซอย 10) แม้ว่าตอนนี้จะเด่นที่ซอฟต์เสิร์ฟนูเทลล่า แต่ออริจินัลอย่างซาลาเปาไส้แปลกก็ยังเป็นจุดเด่น ฟังแล้วดูจะกินยากแต่เอาเข้าจริงก็อร่อยดี Malted Cheeze Pizza  รสชาติของพิซซาในแป้งนุ่มๆ Slow Roasted Pork in Tonkatsu Sauce  คล้ายกวาเปาแต่เป็นรูปทรงซาลาเปาและให้รสชาติแบบญี่ปุ่น หรือ Caramelized Milk & Candied Bacon ครีมคาราเมลแต่มีรสเค็มของเบคอนมาตัดหวาน

Malted Cheeze Pizza

Slow Roasted Pork in Tonkatsu Sauce

Caramelized Milk & Candied Bacon

Bun101 (สาขาท๊อปมร์เก็ตเพลสทองหล่อ) จุดเด่นอยู่ที่แป้งโฮลวีตนุ่มเนียนไม่ฝืดคอ ไส้งาดำ แป้งบางไส้เยอะ หอมงา ราคาถูก

ไส้งาดำ

Hong Bao ยังได้ชื่อว่าเป็นร้านที่จุดประกายซาลาเปาไข่เค็มลาวา  จุดเด่นอยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอกที่มนกลมมีลวดลายสีส้มด้านบน ส่วนด้านล่างทำเหมือนคัปเค้ก ทำให้มีเนื้อที่สำหรับไข่เค็มคัสตาร์ดเต็มคำ

ซาลาเปาไข่เค็มลาวา

Ice Cream Bao
หย่อน เริ่มที่ Matcha Ten เคยทำตั้งแต่ที่ Tenyuu Sho เอ็มควอเทียร์ เมื่อหันมาเอาดีเรื่องขนมที่นี่ก็ไม่พลาด Sho Bao  จุดเด่นอยู่ที่แป้งเปาทอดที่ไม่หนามาก แต่เน้นไอศกรีมชาเขียวที่หนากว่า มาพร้อมนมข้น ทำให้ได้กินไอศกรีมที่เย็นฉ่ำแบบเต็มคำ หรือจะลองไอศกรีมวานิลลากับซอลท์คาราเมลก็เป็นอีกรสชาตินึง

Sho Bao

Little Bao ก็มีเปาแบบเย็นเช่นกัน Ice-Cream Bao (ภาพ 022) แป้งเปาจะหนาพอๆ กับเปาแบบคาวแล้วนำไปทอดเร็วๆ เพื่อไม่ให้อมน้ำมันและกรอบ สอดไส้ไอศกรีมชาเขียวกับนมข้น และไส้ไอศกรีมเกลือกับคาราเมล บอกยากว่าของใครดีกว่ากันเพราะรสชาติไอศกรีมเป็นคนละแบบ

Ice-Cream Bao

ปิดท้ายที่ Icedea (หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร) เรื่องของไอเดียเกี่ยวกับไอศกรีมไม่มีใครกินแบรนด์นี้ลง เช่นเดียวกับ Hong Kong Crispy Lava Bun Ice Cream  ไอศกรีมนมสอดไส้ลาวาคัสตาร์ดไข่เค็ม ด้านนอกหุ้มด้วยคุกกี้กรอบหอมเนย นอกจากนั้นยังมีไอศกรีมบราวนี่สอดไส้ซอสช็อกโกแลต ไอศกรีมโตเกียวบานาน่าสอดไส้ซอสคาราเมล รวมทั้งหมด 6 รสชาติ

Hong Kong Crispy Lava Bun Ice Cream


Tag: , ซาลาเปา, ติ่มซำ, อาหารจีน,

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed