พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

วันที่ 12 พฤษภาคม 2564  6,180 Views
นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับที่ 250 เดือนพฤษภาคม 2564

คล้ายกับว่ากาลเวลาไม่สามารถทำอะไรกับบ้านหลังนี้ได้ เพราะเพียงแค่ก้าวผ่านประตูไม้บานใหญ่ บรรยากาศก็เปลี่ยนไปราวกับอยู่ในไทม์แมชชีน กำแพงไม้เลื้อยเปรียบเหมือนเป็นตัวกำจัดเสียงจ้อกแจ้กจอแจของรถราด้านนอกและทางด่วนยกระดับที่อยู่ไม่ไกลให้กลับกลายเป็นความเงียบสงบชวนให้เย็นใจ แม้อากาศของกรุงเทพฯ จะร้อนอย่างไม่ปรานีใครเลยก็ตาม

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

ผู้คนที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้เป็นมิตรอย่างไม่น่าเหลือเชื่อ พวกเขากระตือรือร้นที่จะพาเราไปสำรวจทุกซอกทุกมุมของบ้านไม้หลังเก่าที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านบางรักมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 ซึ่งคาบเกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี บ้านหลังนี้จึงกลายเป็นภาพจำลองชั้นเลิศของชาวบางกอกในยุคสมัยนั้นรวมถึงช่วงเวลาหลังจากการสู้รบได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2488 ด้วยเช่นกัน

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

เจ้าของเดิมและผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ รศ. วราพร สุรวดี ผู้ล่วงลับไปแล้ว เธอยกพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้อยู่ในการดูแลของเขตบางรักเพื่อเป็นแหล่งความรู้ของคนรุ่นใหม่ พื้นที่สีเขียวแห่งนี้ประกอบไปด้วย 4 อาคารด้วยกัน บ้านไม้หลังสีขาวด้านหน้าสุดแรกเริ่มเดิมทีเป็นบ้านคุณยายของ รศ. วราพร มาก่อน มีลักษณะเป็นบ้านไม้สีขาวทรงปั้นหยาขนาด 2 ชั้น ด้านในมีห้องทั้งหมด 7 ห้องที่ยังคงสภาพเดิมไว้ไม่ต่างจากเมื่อ 80 กว่าปีก่อน บริเวณชั้น 1 แบ่งเป็นห้องรับแขกที่มักใช้เป็นห้องเล่นเปียโน ถัดมาคือห้องรับประทานอาหาร จัดแสดงโต๊ะรับประทานอาหารขาสิงห์ พร้อมเก้าอี้พนักเซาะร่องเป็นลายโบและช่อดอกไม้แบบตะวันตก ส่วนอีกฝั่งเป็นห้องหนังสือที่เต็มไปด้วยตำราภาษาอังกฤษซึ่งหน้ากระดาษเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกือบน้ำตาลไปตามกาลเวลา

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

เมื่อก้าวขึ้นบันไดไม้ไปสู่ชั้น 2 จะพบกับห้องอีก 4 ห้อง ได้แก่ ห้องนอนของคุณยายอิน ตันบุญเต็ก จัดแสดงเตียงไม้โบราณที่ยังคงสภาพดีได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ห้องบรรพบุรุษสำหรับตั้งอัฐิไว้เพื่อบูชา ส่วนห้องที่ใหญ่ที่สุดคือห้องนอนคุณแม่ มีโต๊ะเครื่องแป้งขนาดใหญ่พร้อมกระจก 3 บาน สามารถส่องได้รอบตัว และอ่างล้างหน้าลายดอกกุหลาบสีน้ำเงินสไตล์อาร์ตเดคโคดูงดงามแปลกตา และห้องสุดท้ายคือห้องนอนใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเป็นห้องนอนของอาจารย์วนิดา สุรวดี มารดาของ รศ. วราพร  ที่ภายในมีทั้งเตียงนอน ตู้เสื้อผ้า กับโต๊ะข้างเตียงแบบสมัยนิยมในช่วงปี พ.ศ. 2480-2500 แต่ที่ดูน่าสนใจไม่แพ้ห้องอื่นๆ ก็คือห้องน้ำที่มาพร้อมส้วมแบบย้อนยุคดูคล้ายชักโครกบ้านเราในปัจจุบัน แต่ขอบที่นั่งทำจากไม้ก็เลยดูแปลกตาไปอีกแบบ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (บางรัก) บ้านไม้หลังเก่าบอกเล่าความเป็นมาของชาวกรุงเทพฯ

หลังจากเดินออกจากบ้านหลังแรกก็จะพบกับบ้านไม้อีกหลังที่เป็นจุดขายของที่ระลึกและศาลากลางสวนทางซ้ายมือที่มีลมพักโกรกเย็นสบาย จากมุมนี้เราเห็นบ้านไม้อีกหลังซ่อนอยู่ท่ามกลางร่มไม้ใหญ่ บ้านหลังนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของนายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน ชาวอินเดียผู้จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ แต่เดิมนั้นเคยตั้งอยู่ในซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ และทำหน้าที่เป็นคลินิกรักษาคนไข้ แต่หลังจากที่คุณหมอเสียชีวิตลงและบ้านถูกปล่อยเช่าไปหลายปี รศ.วราพรจึงตัดสินใจยกบ้านหลังนี้มาตั้งไว้ใกล้ๆ กับบ้านของเธอเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก โดยขนบรรดาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของคุณหมอมาจัดแสดงให้ชมด้วย ไม่ว่าจะเป็นตำราทางการแพทย์ ภาพถ่ายเก่าๆ รวมถึงเครื่องเรือนแนวตะวันตก ที่สำคัญที่สุดคือรูปปั้นใบหน้าของคุณหมอจากฝีมือของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ศิลปินเอกผู้เป็นบิดาแห่งวงการศิลปะไทย

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

ด้านขวามือสุดของพิพิธภัณฑ์เป็นที่ตั้งของอาคารยาว ซึ่งครั้งหนึ่งเคยจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ เช่น อุปกรณ์ทำครัวของคนกรุงเทพฯ ในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นกระด้ง ครกหิน กะละมัง อุปกรณ์ทำไร่ทำสวนเช่น จอบ เสียม ไปจนถึงเคียวเกี่ยวข้าว นอกจากนี้ยังมีบรรดาของสะสมจากต่างประเทศและโซนนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของย่านบางรัก แต่น่าเสียดายที่อาคารแห่งนี้จำเป็นต้องปิดลงเนื่องจากมีการก่อสร้างบริเวณที่ดินแปลงข้างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอย่างรุนแรงจนเกิดรอยร้าวไปทั้งอาคาร

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน

แม้ว่าทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกจะไม่ได้เปิดอย่างเต็มรูปแบบเหมือนก่อน แต่โอเอซิสใจกลางเมืองกรุงแห่งนี้ก็ยังอ้าแขนต้อนรับทุกคนให้เข้าไปเยือนได้อย่างไม่มีหวง สมกับเป็นพิพิธภัณฑ์ของทุกคนจริงๆ

ข้อมูล

  • 273 ซอยเจริญกรุง 43 แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ
  • เปิดบริการวันอังคาร-อาทิตย์ 10.00-16.00 น.
  • โทร. 0-2233-7027
  • เข้าชมฟรี

Tag: travel, พิพิธภัณฑ์

เรื่องโดย

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed