ผลสำรวจ Philips’ Healthy Living in Asia เผยถึงช่องว่างระหว่างการตรวจวัดผลด้านสุขภาพ และการลงมือดูแลสุขภาพ

วันที่ 1 มิถุนายน 2566  517 Views

ผลสำรวจ Philips’ Healthy Living in Asia เผยถึงช่องว่างระหว่างการตรวจวัดผลด้านสุขภาพ และการลงมือดูแลสุขภาพ

รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก ได้เผยถึงผลสำรวจ Healthy Living in Asia ซึ่งจัดทำร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำอย่าง Kantar Profiles Network สำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,000 คน ในประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ เพื่อสำรวจถึงช่องว่างระหว่างการตรวจวัดผลสุขภาพกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาค ในขณะที่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลเพื่อตรวจวัดระดับสุขภาพเพิ่มมากขึ้นจากช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด – 19 แต่ยังมีคนจำนวนมากที่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับข้อมูลจากการตรวจวัดด้านสุขภาพ เทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองในเอเชียมากขึ้น และกำลังเป็นปัจจัยสำคัญต่อผู้บริโภคในการใช้งานและทำความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การยกระดับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันในปี ค.ศ. 2023 นี้เป็นต้นไป

ผลสำรวจพบว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้เกิดความสนใจในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างมาก  โดยเกือบหนึ่งในสาม (ร้อยละ 30) ของผู้ตอบแบบสำรวจในภูมิภาคได้มีการใช้อุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลมากกว่าตอนก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19  สำหรับในประเทศไทยกลุ่มตัวอย่างส่วนมากจะมีการตรวจวัดด้านสุขภาพอย่างน้อยเดือนละครั้ง เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ (ร้อยละ 47) สุขภาพช่องปากและฟัน (ร้อยละ 36) ตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับ (ร้อยละ 45) และคุณค่าทางโภชนาการ (ร้อยละ 42) ถึงแม้ว่าเทรนด์การตรวจวัดสุขภาพจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่กว่าร้อยละ 16 บอกว่าพวกเขาแทบจะไม่เคยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับข้อมูลจากการตรวจวัดผลสุขภาพ และร้อยละ 9 ไม่เคยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาเลย ในขณะที่ร้อยละ 40 บอกว่า พวกเขามีการเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แต่ยังรู้สึกว่าพวกเขาสามารถทำได้มากกว่านี้ในการดูแลสุขภาพให้ดี

พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพของคนไทย
หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้น เห็นได้ชัดจากกว่าร้อยละ 40 ของกลุ่ม Young Millennials ที่มีช่วงอายุ 26 ถึง 30 ปี มีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลมากกว่าก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่ร้อยละ 70 ของกลุ่ม Gen X และ Baby Boomers ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่ม Baby Boomers ที่อยู่ในช่วงอายุ 56 – 65 ปี มีความตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ ด้วยการหาข้อมูลด้านสุขภาพทางออนไลน์ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพ และมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

มุมมองของคนไทยต่ออุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
ร้อยละ 74 ของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยเผยว่าพวกเขาพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ หากพวกเขาสามารถเข้าถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลได้ แบ่งเป็นร้อยละ 86 ของกลุ่ม Gen X  ร้อยละ 85 ของกลุ่ม Baby Boomers  และร้อยละ 73 ของกลุ่ม Millennials

การปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมจากการได้รับข้อมูลด้านสุขภาพ
ถึงแม้ว่าคนไทยจะมีการตรวจวัดสุขภาพมากขึ้น แต่กลับมีเพียง 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับผลของการตรวจวัดสุขภาพแบบดิจิทัล ในขณะที่ร้อยละ 40 เชื่อว่าพวกเขายังสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z (ร้อยละ 44) และ Young Millennials (ร้อยละ42)

จากผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 47 ของกลุ่มตัวอย่างในภูมิภาคนี้มองว่าคำแนะนำของแพทย์เป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่สุดต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับข้อมูลการตรวจวัดด้านสุขภาพส่วนบุคคล โดยร้อยละ 51 ของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยบอกว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับข้อมูลการตรวจวัดด้านสุขภาพ หากได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข อย่างไรก็ตามมีเพียงส่วนน้อยของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยที่เปิดเผยข้อมูลการตรวจวัดสุขภาพแบบดิจิทัลกับแพทย์และผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากปัจจัยด้านความกังวลถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (ร้อยละ 41) และปัจจัยด้านขาดความรู้ในการแชร์ข้อมูลการตรวจวัดด้านสุขภาพ (ร้อยละ 24) โดยกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยร้อยละ 23 บอกว่าพวกเขาไม่รู้ถึงวิธีการแชร์ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพส่วนบุคคลให้กับแพทย์ และร้อยละ 11 บอกว่าพวกเขาขาดการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ทำให้เป็นอุปสรรคสำหรับพวกเขาในการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น

นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน คนไทยจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพที่ดีในระยะยาว และการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพที่อาจมีอยู่ก่อนแล้ว การตรวจวัดสุขภาพถือเป็นก้าวแรกของการดูแลสุขภาพ แต่เพื่อให้เห็นผลอย่างแท้จริง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ ความรู้ คือปัจจัยสำคัญในการนำข้อมูลจากการตรวจวัดด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้นอกจากนี้ระบบเฮลท์แคร์ในภูมิภาคจะต้องมีกรอบการทำงานและโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่อบุคลากรทางการแพทย์กับข้อมูลด้านสุขภาพส่วนบุคคลอย่างปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของผู้คน”

และอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ คือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลให้ก้าวหน้า จากผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียให้ความสนใจต่อข้อมูลด้านสุขภาพ โดยผลสำรวจในประเทศไทยพบว่า การรายงานผลตรวจวัดสุขภาพบนอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลที่ (ร้อยละ 49) และการออกแบบอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลให้สามารถแสดงผลข้อมูลให้เข้าใจง่าย (ร้อยละ 51) เป็นปัจจัยสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ

นาย เมียร์ เคียร์ Business Leader กลุ่มธุรกิจ Personal Health ฟิลิปส์ เอเชีย-แปซิฟิค กล่าวว่า “ในปี 2023 เป็นต้นไป การสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีการนำข้อมูลด้านสุขภาพไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพเชิงรุก เราจำเป็นต้องทำมากกว่าการเชื่อมต่อระหว่างบุคลากรทางแพทย์กับข้อมูลด้านสุขภาพ ฟิลิปส์เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อผู้บริโภคกับเทคโนโลยีล้ำสมัย ที่สามารถให้คำแนะนำจากข้อมูลที่มีอยู่ได้ ยกตัวอย่างเช่น นวัตกรรมแปรงสีฟันไฟฟ้า ที่สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้ใช้ เพื่อให้คำแนะนำและการแปรงฟันแบบเฉพาะบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มการแปรงของผู้ใช้งานได้โดยตรง”

ติดตามข่าวสารและข้อมูลเพิ่มเติมของฟิลิปส์ ได้ที่เว็บไซต์ www.philips.co.th


Tag : การดูแลสุขภาพ, ฟิลิปส์

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed