เพราะ Camera ต้อง eats first: ถ่ายภาพยังไงให้อาหารน่าอีสตั้งแต่ยังไม่เริ่มกิน

วันที่ 18 ธันวาคม 2567  44 Views

เพราะ Camera ต้อง eats first: ถ่ายภาพยังไงให้อาหารน่าอีสตั้งแต่ยังไม่เริ่มกิน

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ขณะที่ Instagram เพิ่งเปิดตัวใหม่ ๆ การถ่ายรูปอาหารลงโซเชียลยังเป็นแค่เทรนด์นอกกระแส แต่ทุกวันนี้กระแส 'Camera Eats First' หรือการถ่ายรูปอาหารลงโซเชียลก่อนการรับประทานนั้นกลายเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ใคร ๆ ก็อยากเก็บภาพความทรงจำจากโมเมนต์ที่ได้เห็นเมนูอาหารสุดน่ากินมาเสิร์ฟตรงหน้า ก่อนที่จะเริ่มตักอาหารคำแรกเข้าปาก

งานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่า การถ่ายรูปอาหารช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหารของเรา เพราะระหว่างที่เรากำลังถ่ายรูป เราได้ใช้เวลาไปกับการดื่มด่ำสีสันและรายละเอียดต่าง ๆ ของอาหารมากขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งเราใช้เวลาถ่ายรูปนานเท่าไหร่ อาหารก็จะยิ่งดูน่ากินมากขึ้นเท่านั้น เราจึงรู้สึกว่าอาหารคำแรกฟินกว่าปกติ

ยิ่งในยุคที่หน้าตาและการจัดจานสำคัญไม่แพ้รสชาติของอาหาร ร้านอาหารหลายแห่งจึงลงทุนไปกับการตกแต่งร้านและจานอาหารให้ออกมาสวยงาม เพื่อดึงดูดเหล่านักกินและเหล่า Food Vloggers ที่ชอบถ่ายภาพอาหารไปลงในสตอรี่ไอจีส่วนตัว หรือนำไปรีวิวเพื่อเชิญชวนผู้ติดตามของตนมาตามรอย

และนี่คือเคล็ด (ไม่) ลับในการถ่ายรูปอาหาร ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ง่าย ๆ เพียงมีกล้องหรือมือถือแค่เครื่องเดียว ก็รับรองว่าคุณจะได้ภาพอาหารที่น่าอีส สวยงาม พร้อมแชร์ลงในไอจีได้ในทันที

เพราะ Camera ต้อง eats first: ถ่ายภาพยังไงให้อาหารน่าอีสตั้งแต่ยังไม่เริ่มกิน

มุมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
เมื่อถ่ายภาพในร้านอาหาร ลองมองหามุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ถ่ายภาพจากมุมสูงเหนือมุมระดับสายตา หรือถ่ายให้เห็นมุมกว้างเพื่อชูจุดเด่นของร้านให้โดดเด่น เทคนิคนี้จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายทอดบรรยากาศของร้านออกมาได้อยากชัดเจน และเพิ่มมิติและความสวยงามให้กับรูปภาพของคุณ

จากภาพตัวอย่างด้านบน คุณจะเห็นถึงความกลมกลืนของพื้นผิวและการตกแต่งภายในร้าน ตั้งแต่พื้นไม้ ผนังกระเบื้อง และงานศิลปะสไตล์ญี่ปุ่นที่ผสานกันได้อย่างลงตัวกับแสงไฟโทนอุ่น สร้างบรรยากาศที่มีเสน่ห์น่าหลงใหล เรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของคนรักการถ่ายภาพเลยทีเดียว

เพราะ Camera ต้อง eats first: ถ่ายภาพยังไงให้อาหารน่าอีสตั้งแต่ยังไม่เริ่มกิน

เพราะ Camera ต้อง eats first: ถ่ายภาพยังไงให้อาหารน่าอีสตั้งแต่ยังไม่เริ่มกิน

เคล็ดลับอีกอย่างคือการใส่ผู้คนเข้าไปในภาพถ่าย เช่นถ่ายภาพในจังหวะที่พนักงานกำลังเสิร์ฟอาหาร บาร์เทนเดอร์กำลังรินเครื่องดื่ม หรือเพื่อน ๆ ของคุณที่กำลังสนุกสนานกับอาหารมื้อพิเศษอยู่ นี่จะช่วยทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา สนุกสนาน และเต็มไปด้วยเรื่องราว

เพราะ Camera ต้อง eats first: ถ่ายภาพยังไงให้อาหารน่าอีสตั้งแต่ยังไม่เริ่มกิน

จัดแสงดีเป็นศรีแก่ภาพ
ดังคำกล่าวที่ว่า การถ่ายภาพเปรียบเสมือนการวาดรูปด้วยแสง แสงจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการถ่ายภาพ โดยเฉพาะแสงธรรมชาติที่ช่วยให้อาหารดูโดดเด่นขึ้น อย่างในภาพตัวอย่างด้านบน แสงธรรมชาติช่วยขัดให้สีสันของอาหารโดดเด่นขึ้น เพิ่มความน่าอีสให้กับทุกมื้อของคุณ

การถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาตินั้น ควรเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการถ่ายในช่วงเที่ยงตรงที่แสงแดดจัด และควรหลีกเลี่ยงการวางอาหารให้แสงแดดส่องโดยตรง เพราะจะทำให้เกิดเงาและทำให้สีอาหารอาจดูมึดหรือสว่างจนเกินไป

ช่วงเวลาก่อนมื้อเย็น โดยเฉพาะช่วง Golden hour หรือชั่วโมงสุดท้ายก่อนพระอาทิตย์ตกดิน คือช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพอาหาร ลองจัดวางอาหารใกล้หน้าต่างเพื่อรับแสงอ่อน ๆ รับรองว่าอาหารจะดูน่ากิน ดูมีออร่ามากยิ่งขึ้น

เคล็ดลับกฎสามส่วน
เคยสงสัยไหมว่าทำไมภาพอาหารใน Instagram ถึงดูสวยเป๊ะและน่ากินทุกรูป? ความลับอยู่ที่การจัดองค์ประกอบด้วย 'กฎสามส่วน' หรือ Rule of Thirds ซึ่งเป็นเทคนิคพื้นฐานง่าย ๆ สำหรับการถ่ายภาพที่ช่วยให้ผู้ถ่ายสามารถจัดองค์ประกอบภาพออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการแบ่งเฟรมภาพออกเป็นตาราง 3×3 ด้วยเส้นแนวนอนและเส้นแนวตั้งสองเส้น เกิดเป็นจุดตัดสี่จุดตามภาพด้านล่าง

ตามกฎสามส่วน เราควรวางจุดเด่นของภาพไว้ที่จุดตัดของเส้นตาราง ไม่ว่าจะเป็นฝั่งซ้ายหรือขวาของตาราง วิธีนี้จะช่วยให้ภาพดูสมดุลและดึงดูดสายตาของผู้มองได้อย่างเป็นธรรมชาติ กฎนี้ยังใช้ได้กับการถ่ายภาพภายในพื้นที่จำกัดเช่นร้านอาหารได้เช่นกัน ลองจัดวางองค์ประกอบอย่าง บาร์ ชั้นวางของ หรือหน้าต่าง ให้ตรงตามแนวเส้นใดเส้นหนึ่ง เพื่อเติมเรื่องราวและเสริมบรรยากาศให้กับภาพ

กล้องดิจิทัลและสมาร์ทโฟนหลายรุ่นในปัจจุบันมีฟีเจอร์ตารางกฎสามส่วนหรือ “Gridlines” ให้ใช้งาน  ลองเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้แล้วสนุกกับการลองมุมมองต่าง ๆ รับรองว่าคุณก็สามารถเซียนการจัดองค์ประกอบภาพได้ไม่ยาก!

จัดองค์ประกอบให้เต็มเฟรม
อีกเทคนิคที่น่าสนใจคือการถ่ายแบบเต็มเฟรม วิธีการคือลองซูมเข้าไปใกล้ ๆ อาหารด้วยโหมด Macro หรือ Telephoto เพื่อเก็บรายละเอียดของอาหารจานนั้น ๆ ให้เด่นชัดขึ้น

อย่างในภาพตัวอย่างด้านบน จะเห็นได้ว่าอาหารญี่ปุ่นฟิวชั่นจานนี้โฟกัสไปที่เม็ดเชอร์รี่ มัสตาร์ด และคาราเมลโชยุ ที่จัดวางอยู่บนนักเก็ต รวมถึงการใช้พร็อพอย่างจานไม้และกระดาษรองอาหารลายน่ารัก ๆ ช่วยเพิ่มความโดดเด่นและเสริมความขี้เล่นให้กับอาหารจานนี้เพิ่มขึ้นไปอีก

เทคนิคเหล่านี้ช่วยสร้างมุมมองที่ชวนให้น้ำลายสอ ดึงความโดดเด่นของรสชาติและส่วนผสมต่าง ๆ ออกมาได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

เข้าใจมุมมอง (Perspective) ในการถ่ายภาพ
การเลือกมุมมองในการถ่ายหรือ Perspective ให้เหมาะกับอาหารนั้นเป็นเรื่องสำคัญ หากอาหารถูกเสริฟในจานแบน เช่น พาสต้า พิซซ่า หรือเมนูเสียบไม้ ก็ควรใช้เทคนิคการถ่ายภาพแบบ Flat lay หรือการถ่ายจากมุมสูง เพราะมุมนี้จะเน้นให้เห็นถึงรูปร่าง สีสัน พื้นผิว และรายละเอียดของส่วนผสมแต่ละชนิดแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน

จากภาพพาสต้าด้านบน การถ่ายมุมสูงช่วยให้เห็นองค์ประกอบของจานได้อย่างครบถ้วน ทั้งผักสด ๆ ไข่หอยเม่นสีสันสดใส และเส้นพาสต้าฉ่ำซอส

เทคนิคการถ่ายภาพระดับสายตานั้นเหมาะกับอาหารที่มีความสูงหรือมีหลายชั้น เช่น แพนเค้ก แซนด์วิช ซูชิ หรือเบอร์เกอร์ ภาพถ่ายมุมนี้จะช่วยให้เห็นพื้นผิวและมิติของอาหารชั้นต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ทำให้คนดูภาพเหมือนได้มองอาหารในระดับสายตา  อย่างในภาพซูชิด้านบน เราจะเห็นวัตถุดิบต่าง ๆ ของซูชิได้อย่างชัดเจน ทั้งปลา ข้าวญี่ปุ่น และท็อปปิ้งด้านบน

เทคนิคการถ่ายภาพแบบมุมสามส่วนเป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพมุมสูงและมุมระดับสายตา ซึ่งคือการให้ความสำคัญกับวัตถุทั้งจากด้านบนและด้านข้างของอาหาร เหมาะกับอาหารประเภทซุปในชาม หรืออาหารจานเดี่ยว เช่น เมนูมากิในภาพด้านบน เทคนิคนี้ช่วยให้เห็นรูปทรงของอาหารได้อย่างชัดเจน และยังเป็นมุมมองเดียวกับตอนที่เรานั่งทานอาหาร เสมือนกับกำลังรับประทานอาหารอยู่ ทำให้อาหารดูน่ากินยิ่งขึ้น

สร้างจุดสนใจ
สมัยเด็ก ๆ เรามักได้ยินผู้ใหญ่บ่นว่า 'อย่าเล่นกับอาหาร' แต่สำหรับการถ่ายภาพนั้น คุณสามารถเล่นกับอาหารเพื่อสร้างเรื่องราวให้กับภาพและทำให้ภาพมีความน่าสนใจมากขึ้นได้ เช่น ถ้าคุณรพตุ๊กตาฟิกเกอร์มาเป็นพร็อพ ก็ควรใช้ขาตั้งกล้องและจัดมุมกล้องให้อยู่ในระดับเดียวกับตุ๊กตาฟิกเกอร์ พร้อมปรับระยะชัดเพื่อสร้างเอฟเฟกต์หน้าชัดหลังเบลอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมิติให้กับภาพ

ดั่งเช่น Fatboy Izakaya ตามภาพด้านบนนี้ ซึ่งเป็นบาร์สไตล์ฟิวชั่นใจกลางกรุงเทพฯ ได้นำเอกลักษณ์ของตัวละคร Astroboy หรือเจ้าหนูปรมาณู การ์ตูนมังงะญี่ปุ่นสุดไอคอนิกมาใช้ในการเสิร์ฟเมนู Oyster Shooter สองช็อต ที่ผสานรสชาติของวาซาบิ, Sangrita (เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สไตล์เม็กซิกัน), ชิโสะและ Mescal (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเม็กซิกันที่กลั่นมาจากอะกาเว) เข้าด้วยกันเป็นเครื่องดื่มออร์เดิร์ฟที่ทั้งอร่อยและเหมาะแก่การแชร์ลงสตอรี่ IG

ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้เก็บภาพความอร่อยในทุกโอกาสของคุณ อย่างมีสไตล์ พร้อมทำให้ทุกจานและทุกโมเมนต์ของคุณน่าจดจำมากยิ่งขึ้น

หากคุณกำลังมองหาแหล่งแฮงค์เอาท์ดีๆ สำหรับฝึกปรือฝีมือถ่ายภาพอาหารแบบครบจบทุกเทคนิค Fatboy Izakaya ก็เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม ด้วยบรรยากาศทันสมัยที่ผสมผสานป๊อปคัลเจอร์และอาหารญี่ปุ่นฟิวชั่นเข้าด้วยกันอย่างลงตัว สัมผัสบรรยากาศสุดพิเศษแบบนี้ได้ที่ Fatboy Izakaya สาขาใหม่ที่ศูนย์การค้า Gaysorn Amarin และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กและ Instagramของทางร้าน

Facebook : Fatboy Izakaya 
Instagram : fatboyizakaya


Tag : ร้านอาหาร, สถานที่แฮงเอาต์

ความคิดเห็น

Editor’s Pick

Recent

Most Viewed